วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิทยาศาสตร์ป1


หน้า 15
สรุปวิทยาศาสตร์ (สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต)
1. สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1.1 สิ่งมีชีวิต มีลักษณะสำคัญ คือ กินอาหารได้ มีการเจริญเติบโต หายใจได้ สืบพันธุ์ได้  เคลื่อนไหวได้
      ได้แก่ – คน กินอาหารทางปาก ใช้จมูกหายใจ มีการเจริญเติบโต มีการสืบพันธุ์ได้
           - สัตว์ กินอาหารทางปาก หายใจได้หลายทาง เช่น จมูก เหงือก ผิวหนัง มีการ   เจริญเติบโต มีการ     สืบพันธุ์ได้
              - พืช กินอาหารโดยดูดสารอาหารทางราก มีการเจริญเติบโต หายใจทางใบ   ขยายพันธุ์ได้
1.2 สิ่งไม่มีชีวิต มีลักษณะสำคัญ คือ กินอาหารไม่ได้ ไม่มีการเจริญเติบโต หายใจไม่ได้ สืบพันธุ์ไม่ได้  เคลื่อนไหวไม่ได้
      สิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดตามธรรมชาติ  เช่น น้ำ ดิน ก้อนหิน อากาศ
      สิ่งไม่มีชีวิตที่มนุย์สร้างขึ้น เช่น บ้าน รถ ถนน นาฬิกา ดินสอ ยางลบ เครื่องใช้ต่างๆ
1.3 สรุปความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ดังนี้
         สิ่งมีชีวิต
สิ่งไม่มีชีวิต
กินอาหารได้
กินอาหารไม่ได้
มีการเจริญเติบโต
ไม่มีการเจริญเติบโต
หายใจได้
หายใจไม่ได้
สืบพันธุ์ได้   
สืบพันธุ์ไม่ได้
เคลื่อนไหวได้
เคลื่อนไหวไม่ได้











หน้า 16
สรุปวิทยาศาสตร์(การดำรงชีวิตของพืช)
1. พืช ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในเรื่องใดบ้าง
    - เป็นอาหาร                                 - เป็นยารักษาโรค
    - ให้ก๊าชออกซิเจนในการหายใจ
2. พืชบก มีลักษณะอย่างไร
    - รากจะอยู่ใต้ดินเพื่อยึดลำต้น พืชที่ขึ้นตามป่าชายเลนและชายหาดก็จัดเป็นพืชบกเช่นกัน
3. พืชน้ำ มีลักษณะอย่างไร
    - รากและลำต้นจะลอยอยู่บนผิวน้ำ พืชใต้ทะเลลึกจำพวกสาหร่ายก็จัดเป็นพืชน้ำด้วย
4. พืชที่ขึ้นอยู่บนบก มีหลายชนิด ดังนี้
    - พืชสวน เช่น มะม่วง เงาะ ทุเรียน ลองกอง กุหลาบ ดาวเรือง พริก
    - พืชป่า เช่น ต้นไผ่ ต้นสัก ต้นพะยูง ต้นมะค่า ต้นประดู่
    - พืชทุ่งหญ้า เช่น หญ้าคา หญ้าแห้วหมู                     - พืชทะเลทราย เช่น ต้นกระบองเพชร
    - พืชชายเลน เช่น ต้นโกงกาง ต้นแสม                      - พืชภูเขา เช่น ต้นสนสองใบ พญาไม้
    - พืชชายหาด เช่น ต้นหูกวาง ต้นสนทะเล ต้นกระทิง
5. พืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำ มีดังนี้
    - พืชผิวน้ำ เช่น ผักตบชวา ผักบุ้ง ผักกระเฉด จอก แหน
    - พืชใต้น้ำ เช่น สาหร่ายต่างๆ อยู่ใต้ทะเลลึก
6. พืชที่ขึ้นตามแหล่งอื่น มีดังนี้
    - พวกกาฝาก เช่น กล้วยไม้                         - พืชที่ขึ้นตามหลังคาบ้าน เช่น เฟิน มอส พลูด่าง
7. โครงสร้างของต้นไม้ มีดังนี้
     ราก ---- ลำต้น --- ใบ --- ดอก --- ผล
หน้า 17
8. โครงสร้างของต้นไม้ มีลักษณะหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
     - ราก # อยู่ใต้ดิน แผ่ขยายออกไป ทำหน้าที่ยึดเกาะกับดินและดูดซึมน้ำและแร่ธาตุไปเลี้ยง
                    ส่วนต่างๆของลำต้น
-      ลำต้น # ส่วนที่ต่อจากรากขึ้นมามีทั้งอยู่เหนือดินและอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่นำอาหารและน้ำไป
                หล่อเลี้ยงทุกส่วนของพืช
-      ใบ # ส่วนที่ต่อจากลำต้น ทำหน้าที่หายใจ คายน้ำ ช่วยปรุงอาหารให้พืช
-      ดอก # คืออวัยวะสืบพันธุ์ของพืช ทำหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยผสมพันธุ์
-      ผล # ส่วนที่เจริญเติบโตมาจากดอก ทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ด
9. เมล็ด คืออะไร
    ส่วนที่อยู่ภายในผลไม้ จะมีต้นอ่อนถ้านำไปปลูกจะงอกเป็นพืชได้อีก ทำหน้าที่ขยายพันธุ์
10.สารสีเขียวที่ชื่อ คลอโรฟิลล์ อยู่ที่บริเวณไหนของต้นไม้และทำหน้าที่อะไร
     อยู่ที่ใบ มีหน้าที่สังเคราะห์แสงและปรุงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นไม้

สรุปวิทยาศาสตร์( ดิน )
1. ดิน หมายถึงอะไร
    หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดจากการผุพังของหินและการสลายตัวของซากพืช
                    ซากสัตว์
2. องค์ประกอบของดินที่สำคัญมี 4 อย่าง คือ
    - สารอินทรีย์ ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมกัน
    - สารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน โพแทสเซียม
    - น้ำในดิน จะอยู่ระหว่างช่องว่างของดิน มีสารละลายของเกลือแร่ผสมอยู่
    - อากาศในดิน จะแทรกอยู่ตรงช่องว่างของดิน ดินที่โปร่งและมีรูพรุนมากจะมีอากาศมาก
3. ดินที่มีคุณภาพดีต้องมีส่วนประกอบอะไรมากที่สุด เรียง 3 ลำดับแรก
     แร่ธาตุ --- อากาศ --- น้ำ
4. ดิน แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ
     4.1) แบ่งตามเนื้อดิน   เนื้อละเอียด เนื้อจะแน่น อุ้มน้ำดี ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช
                                          - เนื้อโปร่ง จะมีทราย โคลนตม ดินเหนียว น้ำจะไหลผ่านดี
                                          - เนื้อหยาบ มีรูพรุนมาก ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมผ่านดี
    4.2) แบ่งตามสีของดินสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เป็นดินที่อายุมาก มีความอุดมสมบูรณ์สูง
หน้า 18
                                                - สีเหลืองหรือแดง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การระบายน้ำไม่ดี
                                                - สีขาวหรือเทาอ่อน มีทรายผสมอยู่มาก  มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
                                                - สีเทาปนน้ำเงิน อยู่ในที่มีน้ำขังตลอด เป็นดินที่อยู่ตามทุ่งนาหรือป่าชายเลนที่มีน้ำทะเลท่วมถึง
     4.3) แบ่งตามความพรุนของดิน -ดินมีรูพรุนมาก น้ำและอากาศจะระบายได้ดี พืชเติบโตได้ดี
                                                        - ดินมีรูพรุนน้อย น้ำและอากาศจะระบายได้ไม่ดี พืชไม่เติบโต
5. ดินมี 3 ประเภท คือ
    - ดินเหนียว เนื้อแน่นมากน้ำซึมผ่านไม่ดี ไม่เหมาะในการเพาะปลูก แต่เหมาะกับงานปั้นต่างๆ
    - ดินร่วน เนื้อละเอียด มีซากพืชซากสัตว์ปนอยู่มาก น้ำและอากาศระบายได้ดี เหมาะแก่การ    เพาะปลูก
    - ดินทราย เนื้อหยาบมาก ไม่เกาะกัน น้ำและอากาศผ่านได้ง่ายมาก ไม่อุ้มน้ำ ไม่เหมาะแก่การเพาะ แต่เหมาะสำหรับผสมทำงานก่อสร้าง
6. ประโยชน์ของดิน มีดังนี้
    - ใช้ในการเพาะปลูก                                  
    - เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
    - ใช้ทำของใช้ พวกเครื่องปั้นดินเผา         
    - ใช้เป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย












หน้า 19
แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์(สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่มีการเจริญเติบโต
    . ดอกมะลิ                                                 . สิงโต
    . เก้าอี้                                                         . คุณครู
2. ข้อใดคือการเคลื่อนไหวของมนุษย์
    . เลื้อย                                                        . บิน
    . คลาน                                                       . เดิน
3. พืชหายใจทางใด
    . ใบ                                                            . ปาก
    . จมูก                                                         . เหงือก
4. ข้อใดเป็นสิ่งไม่มีชีวิต
    . ปะการัง                                                   .หิน
    . สาหร่าย                                                   . คางคก
5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
    . ต้นมะม่วง                                                               . ดอกบัว
    . หนังสือ                                                    . โต๊ะกินข้าว
6. สัตว์ชนิดใดหายใจทางเหงือก
    . เสือ                                                           . ปลาดุก
    . ยีราฟ                                                        . ลิง

หน้า 20
7. ข้อใดต่อไปนี้สามารถหายใจได้
    . ค้างคาว                                                    . ก้อนเมฆ
    . ดิน                                                           . รถจักรยาน
8. อึ่งอ่างมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไร
    . วิ่ง                                                             . กระโดด
    . เดิน                                                          . เลื้อยคลาน
9. ข้อใดเป็นสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    . สาหร่าย                                                   . งู
    . อากาศ                                                      .บ้าน
10. ข้อใดเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
      . กระรอก , น้ำ                                        . ทะเล , ปะการัง
      . หนอน , ต้นชมพู่                                  . ดินสอ , โต๊ะ









หน้า 21
แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์(การดำรงชีวิตของพืช)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดคือประโยชน์ของพืช
    . เป็นอาหารของคนและสัตว์                                   . เป็นยารักษาโรค
    . ให้ก๊าซออกซิเจนคนและสัตว์ในการหายใจ        . ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดคือพืชบก
    . ดอกบัว                                                                    . ผักบุ้ง
    . โหรพา                                                                     . ผักกระเฉด
3. ข้อใดคือพืชน้ำ
    . ลำไย                                                                        . ผักตบชวา
    . มะม่วง                                                                     . ขนุน
4. ต้นโกงกางเป็นพืชที่เจริญเติบโตในพื้นที่แบบใด
    . ทุ่งหญ้า                                                                    . ชายหาด
   . ป่าชายเลน                                                                                . บนภูเขา
5. พืชชนิดใดมีลำต้นเกิดขึ้นอยู่ใต้น้ำ
    . ต้นสน                                                                      . ต้นมะพร้าว
    . จอก                                                                         . สาหร่าย
6. ใบ ทำหน้าที่อะไร
    . ดูดน้ำและอาหาร                                                    . สร้างอาหาร
    . สืบพันธุ์                                                                   .  ยึดลำต้น

หน้า 22
7. โครงสร้างส่วนใดของพืชที่เกิดขึ้นเป็นลำดับที่ 3
     . ใบ                                                                                           . ดอก
     . ราก                                                                                         . ผล
8. พืชชนิดใดมีลำต้นอยู่ใต้ดิน
    . เงาะ                                                                                          . มะนาว
    . ข่า                                                                                             . ดอกบัว
9. สารคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ปรุงอาหารให้พืช เป็นสารที่มีสีอะไร
    . สีแดง                                                                                       . สีคำ
    . สีเขียว                                                                                      . สีชมพู
10.โครงสร้างส่วนใดของพืชที่ทำหน้าที่ขยายพันธุ์พืช
      . เมล็ด                                                                                      . ดอก
      . ใบ                                                                                          . ราก









หน้า 23
แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์(ดิน)
จงใส่เครื่องหมาย ถูก หน้าคำตอบที่ ถูก และ ใส่เครื่องหมาย ผิด หน้าคำตอบที่ ผิด
1.                       ดินเกิดจากการพุพังของสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ
2.                       ดินเนื้อโปร่งเหมาะแก่การปลูกพืชมากที่สุด
3.                       ดินสีขาวหรือสีเทาอ่อนเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก
4.                       ดินร่วนนิยมนำมาทำเครื่องปั้นดินเผา
5.                       ดินใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิดได้
6.                       ดินใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างที่อยู่อาศัยได้
7.                       สีของดินแต่ละชนิดจะมีลักษณะของสีที่เหมือนกัน
8.                       น้ำและอากาศไม่ใช่องค์ประกอบของดิน
9.                       ดินสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเป็นดินที่มีอายุมาก
10.                     ดินที่มีรูพรุนมากจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี









หน้า 25
สรุปวิทยาศาสตร์ (ตัวเรา )
1. มนุษย์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอะไร
    อาหาร อากาศ และน้ำ
2. อวัยวะภายนอกร่างกายประกอบด้วย
    - ศีรษะ ในศีรษะมีสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะของร่างกาย
    - ผม ทำหน้าที่ปกคลุมศีรษะป้องกันความร้อนและความเย็นให้กับศีรษะ
    - ตา ทำหน้าที่ช่วยในการมองเห็น หรือ ดูในสิ่งต่างๆ
    - จมูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศและกรองฝุ่นละอองด้วย
    - หู ทำหน้าที่ช่วยในการได้ยิน และช่วยให้ทรงตัวอยู่ได้
    - ปาก ภายในปากมีฟันและลิ้นช่วยเคี้ยวอาหาร และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร
    - ลำตัว เป็นแกนหลักของร่างกาย มีกระดูกสันหลังช่วยพยุงลำตัวให้ตั้งตรง
    - มือ ทำหน้าที่ หยิบ จับสิ่งของ
    - ผิวหนัง ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยป้องกันเชื้อโรคและขับของเสีย
    - เท้า ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัว เดิน วิ่ง
3. การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย มีดังนี้
    - ตา ไม่มองแสงที่จ้าเกินไป เช่น แสงอาทิตย์ ไม่ขยี้ตาด้วยมือสกปรก
    - หู ไม่เอาของแข็งแคะหู ระวังอย่าให้แมลงและน้ำเข้าหู และหลีกเลี่ยงเสียงที่ดังมากเกินไป
  - จมูก ไม่สั่งน้ำมูกแรงๆ ไม่เอาของแข็งแคะจมูก ไม่อยู่ในที่อากาศเป็นพิษ
  - มือ   ต้องตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ล้างมือให้สะอาด
 -  ผิวหนัง อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อย่าตากแดดจัด
 -  ผม สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เด็กๆควรไว้ผมสั้นจะได้ดูแลผมได้ง่ายขึ้น
 -  ปากและฟัน แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนเข้านอน
หน้า 26
สรุปวิทยาศาสตร์ท้องฟ้าของเรา
1. ดวงอาทิตย์ คืออะไร
    - ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกของเรา มีแสงสว่างในตัวเอง
    - เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของโลก
    - มีดาวเคราะห์เป็นบริวารถึง 8 ดวง
2. ดวงอาทิตย์ มีประโยชน์อย่างไร
    - เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่าง                        - ช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารให้พืช
   - เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน         - ช่วยถนอมอาหารและฆ่าเชื้อโรค
   - เป็นแหล่งพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า       - ช่วยให้เรารู้ทิศทาง
3. ถ้าโลกของเราขาดแสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะเกิดอะไรขึ้น
    จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆสามารถอาศัยอยู่บนโลกได้เลย
4. การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เป็นอย่างไร
    - ตอนเช้า ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออก เรียกว่า เวลากลางวัน
    - ตอนเย็น ดวงอาทิตย์ ตกทางทิศตะวันตก เรียกว่า เวลากลางคืน
    - ตอนเที่ยง ดวงอาทิตย์ จะอยู่ตรงศีรษะของเราพอดี
5. โลก คืออะไร- ดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์
- โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง
- โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน หรือ 1 ปี
6. ดวงจันทร์ คืออะไร
    - ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
    - การที่เราเห็นแสงสว่างของดวงจันทร์เพราะดวงจันทร์ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ที่
      สะท้อนมายังโลก
    - ดวงจันทร์ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ ไม่มีสิ่งมีชีวิต มีแต่ฝุ่นละออง
หน้า 27
7. การขึ้นของดวงจันทร์ มีดังนี้
    - เริ่มจากมองไม่เห็นดวงจันทร์เลยจนเต็มดวง เรียกว่า ข้างขึ้น
    - เริ่มจากมองเห็นเต็มดวงจนเป็นเสี้ยว เรียกว่า ข้างแรม
    - วันที่ดวงจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เรียกว่า วันเพ็ญ
    - วันที่มองไม่เห็นดวงจันทร์เลย แรม 15 ค่ำ เรียกว่า วันแรม หรือ คืนเดือนดับ
8. ดวงดาว คือ
    - ดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง
    - ดวงดาวอยู่ห่างไกลจากโลกมากเราจึงเห็นดวงดาวแบบระยิบระยับ
    - คืนที่จันทร์เต็มดวงจะมีแสงสว่างมากเราจะมองไม่เห็นดวงดาว
    - คืนที่มองไม่เห็นดวงจันทร์แสงสว่างจะน้อยเราจะมองเห็นดวงดาวเต็มท้องฟ้า
9. ประโยชน์ของดวงดาว คือ
    - ดาวเหนือ สามารถช่วยบอกทิศทางให้เราได้













หน้า 28
แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์(ท้องฟ้าของเรา)
จงใส่เครื่องหมาย ถูก หน้าคำตอบที่ ถูก และ ใส่เครื่องหมาย ผิด หน้าคำตอบที่ ผิด
1.                       ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
2.                       แสงจากดวงอาทิตย์ช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ และให้วิตามินกับผิวหนัง
3.                       ช่วงเวลาเจ็ดโมงเช้าดวงอาทิตย์จะอยู่ทางทิศตะวันตก
4.                       โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 365 วัน
5.                       ถ้าบนโลกของเราไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์สิ่งมีชีวิตบนโลกก็จะตายหมด
6.                       บนดวงจันทร์ไม่มีอากาศ น้ำ และสิ่งมีชีวิตอยู่เลย
7.                       คืนวันเพ็ญเราจะมองเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเสี้ยวหรือครึ่งดวง
8.                       ดาวพุธสามารถใช้บอกทิศทางให้เราได้
9.                       คืนเดือนดับเราจะไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้เลย
10.                     ปัจจุบันมนุษย์เราอาศัยบนผิวโลก ไม่ใช่ภายในโลก









หน้า 29
เฉลยแนวข้อสอบวิทยาศาสตร์
หน่วยที่ 1 : สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
1.      2.         3.          4.          5.          6.          7.          8.          9.          10.
หน่วยที่ 2 : การดำรงชีวิตของพืช
1.     2.         3.          4.          5.           6.          7.          8.          9.          10.
หน่วยที่ 3 : ดิน
1.ถูก  2.ถูก       3.ผิด        4.ผิด        5.ถูก        6.ถูก        7.ผิด        8.ผิด        9.ถูก        10.ถูก     
หน่วยที่ 4 : ตัวเรา
1.     2.         3.          4.          5.           6.          7.          8.           9.          10.
หน่วยที่ 5 : ท้องฟ้าของเรา
1.ถูก  2.ถูก       3.ผิด        4.ผิด        5.ถูก        6.ถูก        7.ผิด        8.ผิด        9.ถูก        10.ถูก